คำอธิบาย
คำนำ
พระธรรม 1 ซามูเอล และ 2 ซามูเอลไม่ใช่หนังสือสองเล่ม แต่เป็นหนังสือเล่มเดียวซึ่งเชื่อว่าถูกเขียนขึ้นโดยซามูเอลผู้เผยพระวจนะที่ปรากฏตัวในตอนต้นของพระธรรม 1 ซามูเอล พระธรรมสองเล่มนี้ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านจากยุคของผู้วินิจฉัยมาเป็นยุคของกษัตริย์ โดยได้กล่าวถึงความเป็นมาและชีวิตของกษัตริย์สองพระองค์แรกของอิสราเอล
แท้จริง ระบอบกษัตริย์ในอิสราอลไม่ได้เกิดมาจากพะดำริของพระเจ้า แต่เพราะคนอิสราเอลร้องขออยากได้กษัตริย์เหมือนชนชาติรอบข้าง พวกเขาได้ละทิ้งพระเจ้าในฐานะจอมกษัตริย์ของพวกเขา และเลือกที่จะพึ่งพากษัตริย์ที่เป็นมนุษย์มากกว่า บุคคลผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกให้ปกครองชนชาติของพระองค์ตามคำร้องขอของพวกเขาคือ ซาอูล ผู้ซึ่งมีคุณสมบัติในฝ่ายกายภาพเหมาะที่จะเป็นกษัตริย์ ต่อมา เขาไม่ได้เชื่อฟัง
พระเจ้า จึงถูกถอดถอนออกจากบัลลังก์
ในทางตรงกันข้าม กษัตริย์องค์ที่สองที่พระเจ้าทรงเลือกกลับได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอิสราเอล อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ดำเนินตามพระทัยพระเจ้า นั่นคือ ดาวิด ผู้ที่เป็นเด็กเลี้ยงแกะ ดาวิดไม่ไช่คนที่สมบูรณ์แบบ ในทางตรงกันข้าม เขาได้กระทำบาปร้ายแรงหลายครั้งหลายครา และต้องรับผลแห่งการกระทำของเขา กระนั้นก็ตาม พระเจ้าก็ยังพอพระทัยในหัวใจของเขา และให้อภัยเมื่อเขากลับใจใหม่ นั่นเป็น
เพราะใจของเขาที่รักพระเจ้า ถ่อมใจ และติดตามพระองค์อย่างสุดใจ ดาวิดได้นำประเทศชาติของเขาให้เจริญรุ่งเรืองจนรัชสมัยของเขาเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของอิสราเอล
พระธรรมทั้งสองเล่มนี้ซี้ให้เราเห็นว่า พระเจ้าไม่ได้มองหาคนที่สมบูรณ์แบบและปราศจากข้อบกพร่องแต่พระองค์ทรงใช้คนที่ถ่อมใจ กลับใจใหม่ ยอมเปลี่ยนแปลงชีวิต และยินดีที่จะรับใช้พระองค์ด้วยใจเชื่อฟัง
ขอถ้อยคำของพระเจ้าคลใจท่านให้ดำเนินชีวิตติดตามพระองค์อย่างสุดใจ
สมาคมพระคริสตธรรมไทย
แนะนำเนื้อหา
พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับศึกษา ประวัติศาสตร์ สมัยเริ่มต้นราชอาณาจักรอิสราเอล 1-2 ชามูเอล
เนื้อหาของหนังสือประกอบด้วย
1. พระคัมภีร์ฉบับมาตรฐาน 2011
1.1 เนื้อหาพระธรรม (Text) ตรงความหมายในภาษาเดิมของพระคัมภีร์
1.2 เชิงอรรถ (Footnote) อธิบายบางอย่างในเนื้อหาพระธรรมเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจน
1.3 ข้ออ้างโยง (Cross Reference) อ้างอิงข้อพระดัมภีร์อื่นๆ ที่มีเนื้อความเดียวกันหรือ คล้ายคลึงกัน
2. คำนำ (Introduction)
2.1 คำนำของหมวดพระธรรม ช่วยผู้ศึกษาเห็นลักษณะและจุดประสงค์ของแต่ละหมวดในพระคัมภีร์ เช่น หมวดเบญจบรรณ หมวดประวัติศาสตร์ หมวดกวีนิพนธ์ กลุ่มปัญญานิพนธ์ ฯลฯ
2.2 คำนำของพระธรรม แนะนำผู้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะวรรณกรรม เบื้องหลังประวัติศาสตร์หลักศาสนศาสตร์ ฯลฯ ของพระธรรมเล่มนั้น
3. โครงร่างของพระธรรม (Outline) ให้ผู้ศึกษามองเห็นภาพกว้างๆ ของพระธรรมทั้งเล่ม
4. คำอธิบาย (Study Note อยู่บนพื้นหลังสีฟ้า) เป็นการอธิบายบางส่วนของข้อ หรือทั้งข้อ หรือทั้งตอน
4.1 อธิบายคำหรือข้อความที่เข้าใจยาก
4.2 อธิบายเบื้องหลังวัฒนธรรม ศาสนา สังคม และประวัติศาสตร์
4.3 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างพระดัมภีร์เดิมและพระคัมภีร์ใหม่
4.4 อธิบายความหมายโดยนำเสนอคำแปลของฉบับต่างๆ
4.5 เสนอแง่คิดหรือแนวทางการนำความหมายพระธรรมมาเกี่ยวโยงกับชีวิตปัจจุบันในด้านต่างๆ คำอธิบายเป็นตัวหนาในแถบสีขาว อยู่ระหว่างสัญลักษณ์
5. บทความพิเศษ (Sidebar อยู่ถัดลงมาจาก ดำอธิบาย) อธิบายคำสำคัญหรือแนวคิดบางอย่างทางศาสนศาสตร์ในกรอบของพระธรรมนั้นๆ
6. ประมวลศัพท์ (Glossary อยู่ท้ายเล่ม) อธิบายดำ หรือ วลีที่ปรากฏบ่อยครั้งในพระดัมภีร์
7. แผนที่ (Map) แสดงตำแหน่งที่ตั้งของเมือง และสถานที่สำคัญในพระคัมภีรั
8. รูปภาพ แผนภาพ ใช้ประกอบคำอธิบายเพื่อเพิ่มความเข้าใจ
9. บันทึกส่วนตัว พื้นที่พิเศษสำหรับผู้ศึกษาใช้เขียนบันทึกเพิ่มเติม
รีวิว
ยังไม่มีบทวิจารณ์